เมนู

หทยวัตถุที่เกิดก่อน เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอาจยคามิธรรม
ด้วยอำนาจของวิปปยุตตปัจจัย.
[1144] 5. เนวาจยคามินาปจยมิธรรม เป็นปัจจัยแก่
อปจยคามิธรรม ด้วยอำนาจของวิปปยุตตปัจจัย

มีอย่างเดียว คือที่เป็น ปุเรชาตะ ได้แก่
หทยวัตถุที่เกิดก่อน เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอปจยคามิธรรม
ด้วยอำนาจของวิปปยุตตปัจจัย.

21. อัตถิปัจจัย


[1145] 1. อาจยคามิธรรม เป็นปัจจัยแก่อาจยคามิธรรม
ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย

คือ ขันธ์ 1 ที่เป็นอาจยคามิธรรม เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ 3 ฯลฯ
[1146] 2. อาจยคามิธรรม เป็นปัจจัยแก่เนวาจยคามินา-
ปจยคามิธรรม ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย

มี 2 อย่าง คือที่เป็น สหชาตะ และ ปัจฉาชาตะ
ที่เป็น สหชาตะ ได้แก่
ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอาจยคามิธรรมที่เกิดพร้อมกัน เป็นปัจจัยแก่
จิตตสมุฏฐานรูปทั้งหลาย ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย.

ที่เป็น ปัจฉาชาตะ ได้แก่
ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอาจยคามิธรรมที่เกิดภายหลัง เป็นปัจจัยแก่กายนี้ที่
เกิดก่อน ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย.
[1147] 3. อาจยคามิธรรม เป็นปัจจัยแก่อาจยคามิธรรม
และเนวาจยคามิธรรม ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย

คือ ขันธ์ 1 ที่เป็นอาจยคามิธรรม เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ 3 และจิตต-
สมุฏฐานรูปทั้งหลาย ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย ฯลฯ ขันธ์ 2 ฯลฯ
4. อปจยคามิธรรม ฯลฯ มี 3 วาระ (วาระที่ 4-5-6-)
พึงกระทำโดยนัยแห่งอาจยคามิธรรม.
[1148] 7. เนวาจยคามินาปจยคามิธรรม เป็นปัจจัยแก่
เนวาจยคามินาปจยคามิธรรม ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย

มี 5 อย่าง คือที่เป็น สหชาตะ ปุเรชาตะ ปัจฉาชาตะ อาหาระ
และ อินทริยะ
ที่เป็น สหชาตะ ได้แก่
ขันธ์ 1 ที่เป็นเนวาจยคามิธรรม เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ 3 และ
จิตตสมุฏฐานรูปทั้งหลาย ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย ฯลฯ ขันธ์ 2 ฯลฯ
ในปฏิสนธิขณะ ขันธ์ทั้งหลาย เป็นปัจจัยแก่หทยวัตถุ ด้วยอำนาจ-
ของอัตถิปัจจัย, หทยวัตถุ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลาย ด้วยอำนาจของอัตถิ-
ปัจจัย.

มหาภูตรูป 1 ฯลฯ
พาหิรรูป... อาหารสมุฏฐาน... อุตุสมุฐานรูป ฯลฯ
ส่วนอสัญญสัตว์ทั้งหลาย ฯลฯ
ที่เป็น ปุเรชาตะ ได้แก่
พระอรหันต์พิจารณาเห็นจักษุ ฯลฯ หทยวัตถุ โดยความเป็นของไม่
เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา.
เห็นรูปด้วยทิพยจักษุ ฯลฯ ฟังเสียงด้วยทิพโสตธาตุ.
รูปายตนะ เป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะ เป็น
ปัจจัยแก่กายวิญญาณ.
จักขายตนะ เป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ ฯลฯ กายายตนะ เป็นปัจจัยแก่
กายวิญญาณ.
หทยวัตถุ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นเนวาจยคามินาปจยคามิ-
ธรรม ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย.
ที่เป็น ปัจฉาชาตะ ได้แก่
ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นเนวาจยคามินาปจยคามิธรรมที่เกิดภายหลัง เป็น
ปัจจัยแก่กายนี้ที่เกิดก่อน ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย.
กวฬการาหาร เป็นปัจจัยแก่กายนี้.
รูปชีวิตนทรีย์ เป็นปัจจัยแก่กฏัตตารูปทั้งหลาย.
[1149] 8. เนวาจยคามินาปจยคามิธรรม เป็นปัจจัยแก่อาจย-
คามิธรรม ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย


มีอย่างเดียว คือที่เป็น ปุเรชาตะ ได้แก่
พระเสกขบุคคล หรือปุถุชนพิจารณาเห็นจักษุ โดยความเป็นของไม่
เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ย่อมยินดี ย่อมเพลิดเพลินยิ่ง เพราะปรารภ
จักษุนั้น ราคะ ฯลฯ โทมนัส ย่อมเกิดขึ้น.
บุคคลพิจารณาเห็นโสตะ ฯลฯ หทยวัตถุ โดยความเป็นของไม่เที่ยง
ฯลฯ ย่อมยินดี ย่อมเพลิดเพลินยิ่ง เพราะปรารภโสตะเป็นต้นนั้น ราคะ ย่อม
เกิดขึ้น ฯลฯ โทมนัส ย่อมเกิดขึ้น.
บุคคลเห็นรูปด้วยทิพยจักษุ.
ฟังเสียงด้วยทิพโสตธาตุ.
หทยวัตถุ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอายคามิธรรม ด้วยอำนาจ
ของอัตถิปัจจัย.
[1150] 9. เนวาจยคามินาปจยคามิธรรม เป็นปัจจัยแก่
อปจยคามิธรรม ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย

มีอย่างเดียว คือ ที่เป็น ปุเรชาตะ ได้แก่
หทยวัตถุ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอปจยคามิธรรม ด้วย
อำนาจของอัตถิปัจจัย.
[1151] 10. อาจยคามิธรรม และเนวาจยคามินาปจยคามิ-
ธรรมเป็นปัจจัยแก่อาจยคามิธรรม ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย




มีอย่างเดียว คือที่เป็น สหชาตะ รวมกับ ปุเรชาตะ ได้แก่
ขันธ์ 1 ที่เป็นอาจยคามิธรรม และหทยวัตถุ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ 3
ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย ฯลฯ ขันธ์ 2 ฯลฯ
[1152] 11. อาจยคามิธรรม และเนวาจยคามินาปจยคามิ-
ธรรม เป็นปัจจัยแก่เนวาจยคามินาปจยคามิธรรม ด้วยอำนาจของ
อัตถิปัจจัย

มี 3 อย่าง คือที่เป็น สหชาตะ, ปัจฉาชาตะ รวมกับ อาหาระ
และรวมกับ อินทริยะ
ที่เป็น สหชาตะ ได้แก่
ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอาจยคามิธรรม และมหาภูตรูปทั้งหลาย เป็นปัจจัย
แก่จิตตสมุฏฐานรูปทั้งหลาย ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย.
ที่เป็น ปัจฉาชาตะ รวมกับ อาหาระ ได้แก่
ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอาจยคามิธรรมและกวฬีการาหาร เป็นปัจจัยแก่
กายนี้ ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย.
ที่เป็น ปัจฉาชาตะ รวมกับ อาหาระ ได้แก่
ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอาจคามิธรรมและรูปชีวิตินทรีย์ เป็นปัจจัยแก่
กฏัตตารูปทั้งหลาย ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย.

[1153] 12. อปจยคามิธรรม และเนวาจยคามินาปจยคามิ-
ธรรม เป็นปัจจัยแก่อปจยคามิธรรม ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย

พึงกระทำเป็น 2 วาระตามนัยที่ได้แสดงมาแล้ว.
เป็นปัจจัย ด้วยอำนาจของนัตถิปัจจัย, เป็นปัจจัย ด้วยอำนาจ
ของวิคตปัจจัย,
เป็นปัจจัย ด้วยอำนาจของอวิคตปัจจัย.

การนับจำนวนวาระในอนุโลม


สุทธมูลกนัย


[1154] ในเหตุปัจจัย มี 7 วาระ ในอารัมมณปัจจัย มี 7 วาระ
ในอธิปติปัจจัย มี 10 วาระ ในอนันตรปัจจัย มี 6 วาระ ในสมนันตรปัจจัย
มี 6 วาระ ในสหชาตปัจจัย มี 9 วาระ ในอัญญมัญญปัจจัย มี 3 วาระ
ในนิสสยปัจจัย มี 13 วาระ ในอุปนิสสยปัจจัย มี 9 วาระ ในปุเรชาตปัจจัย
มี 3 วาระ ในปัจฉาชาตปัจจัย มี 3 วาระ ในอาเสวนปัจจัย มี 3 วาระ ใน
กัมมปัจจัย มี 7 วาระ ในวิปากปัจจัย มี 1 วาระ ในอาหารปัจจัย มี 7
วาระ ในอินทริยปัจจัย มี 7 วาระ ในฌานปัจจัย มี 7 วาระ ในมัคคปัจจัย
มี 7 วาระ ในสัมปยุตตปัจจัย มี 3 วาระ ในวิปปยุตตปัจจัย มี 5 วาระ
ในอัตถิปัจจัย มี 13 วาระ ในนัตถิปัจจัย มี 6 วาระ ในวิคตปัจจัย มี 6
วาระ ในอวิคตปัจจัย มี 13 วาระ.
อนุโลมนัย จบ